เกี่ยวกับเรา

         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ได้บัญญัติสิทธิ และเสรีภาพ ด้านการศึกษา ของปวงชน ชาวไทยไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า สิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และในบทเฉพาะกาลมาตรา 335(3) ได้กำหนดให้รัฐ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ภายในเวลาห้าปี หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ดังนั้น รัฐจะต้องดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้และต้องเตรียมการให้พร้อมที่จะจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างทั่วถึงมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งถือเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรก ของไทย ที่กำหนดแนวทาง การจัดการศึกษาพื้นฐาน ให้แก่ประชาชนชาวไทยให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ มาตรา 10 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้ บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา ขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการตอบสนองตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ประกอบกับ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 ตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัด ศึกษาดังกล่าวต้องยุบมารวมกัน หน่วยงานดังกล่าวคือ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และกรมวิชาการ

         ในส่วนการศึกษาของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีการรวมสำนักงานการประถมศีกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงาน สามัญศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขตพื้นที่การศีกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เขตการศึกษา ได้แก่ เขต 1 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เขตที่ 2 ตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ ครอบคลุมการศึกษาจำนวน 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอหัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด และกุยบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางด้วยทิศเหนือ ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

         เป็นองค์กรคุณภาพ พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 บริหารจัดการที่เป็นเลิศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จิตบริการ
ประสานความร่วมมือ
ยึดถือธรรมาภิบาล
บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
2. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความปลอดภัยแก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
4. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
5. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
6. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองการพัฒนาประเทศ
7. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
8. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการจัดการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม

1. ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. สถานศึกษามีความปลอดภัยแก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีความสามารถในการแข่งขัน
4. ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
5. ผู้เรียนกลุ่มปกติ กลุ่มที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ
6. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองการพัฒนาประเทศ
7. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5
2. การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน
4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติไทย
5. เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านเทคโนโลยี
6. สร้างทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน ศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ
8. นักเรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม
9. สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและได้รับการรับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอกตลอดจนการพัฒนาสถานศึกษาในพื้นที่ชนบท โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล
10. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
11. นักเรียนมีทักษะชีวิตในการรับมือกับสถานการณ์และภัยพิบัติต่างๆ
12. ส่งเสริมข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
13. ส่งเสริมระบบนิเทศและการติดตามประเมินผลมุ่งคุณภาพผู้เรียน
14. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษามุ่งสู่องค์กรทันสมัย

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน และประเมินผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี คุณธรรม จริยธรรม มีทักษะวิชาชีพ การมีงานทำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 3 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนอย่างทั่วถึง มีศักยภาพการแข่งขันพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมที่ทันสมัย
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรเพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

มาตรการ(กลยุทธ์ที่ 1)
1. ยกระดับคุณภาพการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนปฐมวัย
2. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 กลุ่ม สาระ โดยเน้น 5 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาต่างประเทศ
3. พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยและคณิตศาสตร์
4. เร่งรัดพัฒนาการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเป้าหมายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานผู้เรียนโดยการประกันคุณภาพการศึกษา
6. เพิ่มขีดความสามารถด้าน ICT ด้านคณิตศาสตร์ และ ด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน
7. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ชั้น ป.1

มาตรการ(กลยุทธ์ที่ 2)
1. ปลูกฝังคุณธรรมความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นชาติไทยในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย สังคมศึกษาประชาธิปไตย มีความเป็นพลเมืองไทยแลพลโลก
4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา
5. ส่งเสริมการดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. ขยายผลสถานศึกษาต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
7.ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
8. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
9. สร้างกลไกการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

มาตรการ(กลยุทธ์ที่ 3)
1. เพิ่มประสิทธิภาพการขยายโอกาสทางการศึกษา
2. เร่งรัดให้ประชากร วัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. สนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. เสริมสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน
5. ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
6. ส่งเสริมการจัดการศึกษาทางเลือกโดยครอบครัว สถานประกอบการองค์กรเอกชน
7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส
8. ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ
9. เร่งรัด พัฒนายกระดับคุณภาพ นักเรียน เข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเน้นภาษาเพื่อสื่อสาร
10. พัฒนาศูนย์อาเซียนศึกษา ให้ได้มาตรฐานและเป็นเครื่องมือในการเข้าสู่ประชาคม อาเซียน
11. สร้างเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันผู้เรียนสู่อาเซียน

มาตรการ(กลยุทธ์ที่ 4)
1. เพิ่มขีดความสามารถครู และบุคลากรทางการศึกษาด้านการวิจัยและการใช้นวัตกรรมในการปฏิบัติงาน
2. ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่อาเซียนด้วย ID Plan
3. สร้างเสริมสมรรถนะผู้นำทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษา
4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ประสานการวางแผนการผลิต พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นระบบ มีปริมาณเพียงพอ และมีคุณภาพ
6. คืนครูให้แก่ผู้เรียนโดยลดภาระงานอื่นที่ไม่จำเป็นและจัดให้มีบุคลากรสายสนับสนุนให้พอเพียง เพื่อให้ครูทำหน้าที่พัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มที่ และมีโอกาสพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
7. สร้างเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน โดยคาราวานนิเทศติดตาม8.เร่งรัดพัฒนาระบบนิเทศ และการติดตามประเมินผลแบบบูรณาการ
5. ประสานการวางแผนการผลิต พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นระบบ มีปริมาณเพียงพอ และมีคุณภาพ
6. คืนครูให้แก่ผู้เรียนโดยลดภาระงานอื่นที่ไม่จำเป็นและจัดให้มีบุคลากรสายสนับสนุนให้พอเพียง เพื่อให้ครูทำหน้าที่พัฒนา ผู้เรียนอย่างเต็มที่ และมีโอกาสพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
7. สร้างเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพ ผู้เรียน โดยคาราวานนิเทศติดตาม
8. เร่งรัดพัฒนาระบบนิเทศ และการติดตามประเมินผลแบบบูรณาการ

มาตรการ(กลยุทธ์ที่5)
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาโดยใช้รูปแบบสำนักงานอัตโนมัติ Office Automation)และการบริหารจัดการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ
2. พัฒนาส่งเสริมการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีความ เข้มแข็งเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
3. พัฒนาสถานศึกษาให้มีขนาดเหมาะสมกับการบริหารจัดการ
4. ปรับปรุงกลไกกระบวนการบริหารจัดการในองค์กรให้ได้มาตรฐาน PMQA
5. สร้างแรงจูงใจการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กรสู่วัฒนธรรมองค์กร
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการทางการเงินและสินทรัพย์
7. พัฒนาระบบการวางแผน งบประมาณ ตรวจติดตามและประเมินผลการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
8. พัฒนาการบริหารจัดการของ สพป. ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐาน

มาตรการ (กลยุทธ์ที่ 6)
1. เพิ่มขีดความสามารถของครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย KM
2. สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
3. สร้างความเป็นเลิศด้านประหยัดพลังงานของหน่วยงานด้วยนวัตกรรม/โครงงาน